มนุษย์เรียนรู้การนำแร่ธาตุและพืชพรรณในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับ สี มายาวนาน
สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้บัญญัติพระธรรมวินัยให้ภิกษุจัดทำจีวรจากผ้าเก่าทิ้งหรือผ้าห่อศพ มาเย็บต่อกันเป็นจีวรผืนใหญ่ ทรงแนะนำให้ ย้อมฝาด เพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มของภิกษุ
การย้อมฝาด ช่วยให้โครงสร้างเส้นใยผ้าเก่าที่เริ่มยุ่ยกลับแกร่งแข็งแรง และความเข้มของสีฝาดยังกลมความเลอะของผ้าให้ดูสะอาดเข้มขรึม นี่คือภูมิปัญญาความรู้เรื่องฝาด ได้ถูกนำมาพิจารณาใช้ในการย้อมสีธรรมชาติ ช่วยให้สีจับติดแน่น ติดทน อย่างไม่ตายตัว และเมื่อฝาดให้สีเข้ม ความเปรี้ยวตรงข้ามกับฝาดก็ต้องให้สีอ่อน ด้วยหลักการนี้ ความเปรี้ยวและความฝาด ได้กลายมาเป็นหลักของกรดและด่างในการย้อมผ้าในปัจจุบัน ทั้งส่วนของสีเคมีและส่วนของสีธรรมชาติ ต่างกันที่สีเคมีจะใช้ความเป็นกรดด่างที่ตายตัว แต่สีธรรมชาติจะใช้หลักธรรมชาติ ความเป็นกรดด่างในธรรมชาติมีหลากหลายไม่ตายตัว ทำให้พืชแต่ละอย่างให้สีที่หลากหลายเมื่อรวมกับวัตถุปัจจัยที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างเท่าที่จัดหาได้จากสภาวะธรรมชาติรอบตัว
เมื่อพระพุทธองค์ทรงบัญญัติวินัยผ้าสามผืนเป็นเครื่องนุ่งห่มของภิกษุ เราได้เห็นศิลปะของการใช้ผ้าผืนในอีกหลายรูปแบบ รูปหนึ่งโดยเฉพาะจีวรผืนหนึ่ง จะมีรูปแบบการห่อครองเฉพาะในประเทศไทยถึง 5-6 รูปแบบที่ล้วนงดงามเหมาะสม ซึ่งครอบคลุมทุกกิจกรรมและทุกฤดูกาลอย่างงดงามและทรงประสิทธิภาพ สมฐานะพระภิกษุสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า และในเชิงปัจจัยสี่ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเป็นหัวใจของการพึ่งตนเองเพื่อเกื้อกูลแก่การบรรลุธรรม เราจะเห็นได้ชัดถึงการใช้ปัจจัยสี่ในมุมที่จำเป็น เกิดประโยชน์กับชีวิต นำพาไปสู่ความก้าวหน้ารู้แจ้ง น่าเคารพศรัทธา เฉกเช่นพระพุทธองค์ และในทุกวันนี้เรายังได้เห็นภาพชนพื้นบ้านทั่วโลกและไทย เฉพาะเอเชียทุกประเทศมีศิลปะในการใช้ผ้าผืนด้วยกันทั้งสิ้น เป็นเครื่องนุ่งห่มทุกวัน ทุกฤดูกาล อย่างมีวิธีการใช้ที่หลากหลายไม่ซ้ำกัน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนทั้งสิ้น
จากหนังสือ “นี้คือ..ผ้าทอพื้นบ้าน” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค