http://www.sivasumpan.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ30/03/2009
อัพเดท27/02/2022
ผู้เข้าชม1,080,725
เปิดเพจ1,477,619
สินค้าทั้งหมด12

บริการ

หน้าแรก
สินค้า
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา
ตัวอย่างสีตราสำเภา
ตัวอย่างสีตราหัวช้าง
ตัวอย่างสีจีวรตรากิเลน
ตัวอย่างสีมัดย้อม สีบาติก ตราสำเภา

สาระน่ารู้

ปฎิทิน

« September 2023»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยไฟฟ้า

กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยไฟฟ้า

ดร. สมพงษ์ หิรัญมาศสุวรรณ
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ม.รังสิต

         กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยไฟฟ้า Electrocoagulation                                               
กระบวนการโคแอกกูเลชั่นเป็นกระบวนการทำลายเสถียรภาพของคอลลอยด์และของแข็ง
แขวนลอยด้วยการเติมสารเคมี (โคแอกกูแลนท์) ที่ให้อิออนที่มีประจุตรงข้าม  เช่น
สารส้มหรือ เฟอริกคลอไรด์ ซึ่งทำให้ประจุของคอลลอยด์เป็นกลางและเกิดการรวมตัวกัน จาก
นั้น เตินโพลิเมอร์เพื่อให้ได้ตะกอนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และกำจัดออกด้วยการใช้ถังตกตะกอน
การใช้สารเคมีช่วยใน การตกตะกอนนี้เป็นกระบวนการที่รู้จักกันและใช้อยู่โดยทั่วไปในการ
บำบัดน้ำและน้ำเสีย สำหรับกระบวนการโคแอกกูเลชั่นด้วยไฟฟ้า (Electrocoagulation, EC)
นั้นใช้หลักการเดียวกันในการ ทำลายเสถียรภาพของคอลลอยด์ แต่ใช้สารโคแอกกูแลนท์ใน
รูปของอิออนโลหะที่เกิดจากการละลายโลหะออกจากอิเล็กโทรดด้วยปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าที่ขั้ว
บวก(anode) และคอลลอยด์ยังถูก กำจัดได้ด้วยเกลือไฮดรอกไซด์ของโลหะที่ไม่ละลายน้ำที่
เกิดจากการทำปฏิกิริยาต่อเนื่องของอิออน  โลหะในน้ำ นอกจากนี้ก๊าซไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นที่ขั้วลบ (cathode) จะช่วยทำให้คอลลอยด์ที่รวมตัวเป็นตะกอนลอยตัวขึ้น และสามารถกำจัด
ออกด้วยการกวาดทิ้งจากผิวน้ำ ซึ่งกระบวนการนี้นิยมเรียกว่าการทำให้ตะกอนลอยด้วยไฟฟ้า 
(Electroflotation)
 ข้อได้เปรียบของระบบ EC    
1)  EC เป็นระบบที่ใช้เครื่องมือธรรมดาที่สามารถเดินระบบได้ง่าย
2)  น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดด้วยระบบ EC มีลักษณะใส ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น
3)  น้ำทิ้งจากระบบ EC มีค่าของแข็งละลายน้ำน้อยกว่าการใช้สารเคมีตกตะกอน ซึ่งทำ
     ให้ค่าบำบัดน้ำสำหรับการนำน้ำกลับไปใช้ใหม่มีค่าต่ำกว่า
 4)  ระบบ EC ไม่ต้องใช้สารเคมี จึงไม่มีปัญหาการใช้สารเคมีในการปรับค่า pH เมื่อเกิด
     ปัญหาการเติมสารเคมีที่มากเกินไป 
5)   ระบบ EC ใช้เครื่องมือแบบธรรมดาที่ไม่มีระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า จึงทำให้
      การบำรุงรักษาทำได้ง่าย 
  ข้อเสียเปรียบของระบบ EC
1) โลหะจากอิเล็กโทรดละลายลงสู่น้ำเสีย ทำให้ต้องทำการเปลี่ยนอิเล็กโทรดตามระยะ
    เวลาการใช้งาน
2) อาจเกิดฟิมล์ออกไซด์ของเกลือโลหะบนผิวของอิเล็กโทรด ทำให้ประสิทธิภาพของ
     ระบบ EC ลดลง ทำให้ต้องทำการล้างอิเล็กโทรดเป็นครั้งคราว
3)  เกลือไฮดรอกไซด์ที่ได้มีลักษณะเป็นเจลอาจละลายน้ำได้ในบางกรณี


น้ำประเภทต่าง ๆ ที่บำบัดด้วยระบบ EC

   EC เป็นระบบที่มีเหมาะสำหรับใช้ในระบบผลิตน้ำประปา สามารถทำลายเสถียรภาพของ      
คอลลอยด์ที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถใช้กำจัดสาหร่าย
และจุลินทรีย์ในน้ำได้ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้กำจัดโลหะหนัก เช่น อาเซนิก ออกจากน้ำ
บาดาลระบบ EC ยังเป็นระบบที่ใช้สำหรับบำบัดน้ำเสีย ประเภทของน้ำโรงงานผลิตพรม โรง
งานผลิตเส้นใย น้ำเสียจากโรงอาหาร น้ำเสียชุมชน อิมัลชันของน้ำ-น้ำมัน สีย้อม และฟอก
หนัง เป็นต้น 


(เอกสารตีพิมพ์ในวารสารเทคนิค ฉบับที่ 283 เดือนมกราคม 2551)

สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ม.รังสิต

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view